บ้านปลา ในประเทศไทยเป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นมาจากการทำงานการจัดการทรัพยากรชายฝั่งของผู้นำชุมชน และ นักพัฒนา ซึ่งชื่อดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักกัน คือคำว่า “ซั้ง” ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวประมงที่นำท่อนไม้และทางมะพร้าวไปสร้างในลำคลอง หรือ ในทะเลเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยปลา ซั้งปลาจะพบทั่วไปในจังหวัดตามแนวชายฝั่ง และ ได้วิวัฒนาการของวัสดุการสร้างบ้านปลาไปเป็นท่อซีเมนต์ รวมทั้งนำไปสู่การประดิษฐ์ด้วยวัสดุซีเมนต์ก่อเป็นรูประฆังคว่ำ เจาะรู ซึ่งในต่างประเทศมีการผลิตและมีลิขสิทธิ์ด้วย ส่วนคำว่า “ปะการังเทียม” เป็นคำศัพท์ทางราชการที่กรมประมงใช้ในความหมายว่า “เป็นแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ ที่ซึ่งจะใช้วัสดุมาตรฐาน เป็นแท่งซีเมนต์ขนาดใหญ่โปร่งในรูปลูกเต๋าอาจจะมีขนาด ๑ ลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นแหล่งอาศัยสัตว์น้ำแล้วจะใช้ทำเป็นแนวป้องกันเรือประมงอวนรุนอวนลากเข้าไปในเขตประมงชายฝั่ง
อ่านเพิ่มเติมAuthor - Admin
“ชวนเปิดมุมมองใหม่ยาเสพติดมีอะไร? ที่เชื้อชวนให้ผู้คนเข้า ไปสัมผัส”
คุณนอร์ท นันทพล ชื่นชูกลิ่น เจ้าหน้าที่ภาคสนามอาวุโส มูลนิธิรักษ์ไทย จ.สมุทรปราการ ได้บรรยายและพูดคุยในบรรยากาศสบายๆ...
อ่านเพิ่มเติมแกนนำและชุมชนเข้มแข็ง คานเรือ จ. ปัตตานี
ชุมชนคานเรือแห่งหนึ่ง ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นชุมชนที่มีแรงงานสัญชาติเมียนมา อยู่กันเป็นครอบครัว ประมาณ 40 ครัวเรือน...
อ่านเพิ่มเติมจิตอาสาและความทุ่มเท สร้างการเปลี่ยนแปลงได้
ภาพประกอบเรื่อง : Photo by STR / AFP นายขิ่น (นามสมมติ) แรงงานชาวเมียนมาร์ อายุ 30 ปี สมรสแล้ว ไม่มีบุตร เดิมทำงานที่โรงงานยาง ใน...
อ่านเพิ่มเติม