หมวดหมู่ -สุขภาพ

ผู้หญิงกับยาเสพติด

โดยทั่วไปผู้หญิงที่ติดยาเสพติดมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชาย สัดส่วนระหว่างเพศหญิงกับเพศชายแตกต่างกันระหว่างยาเสพติดแต่ละประเภท เช่นจากรายงานปี 2022 ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office On Drugs and Crime) หนึ่งในสองของผู้ใช้ยาบ้า (amphetamine) เป็นหญิง 15% ของผู้ใช้ยาเสพติดตระกูลฝิ่นเป็นหญิง 38% ของผู้ใช้ยาอี (ecstasy) เป็นหญิง และ 27% ของผู้ใช้โคเคนเป็นหญิง แต่ในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดนั้น ผู้หญิงโดยรวมจะได้รับการบำบัดต่ำกว่าสัดส่วน เช่น ในการบำบัดผู้ติดยาบ้ามีผู้หญิงต่ำกว่า 1 ใน 5

ความเข้าใจที่ดีกว่าเกี่ยวกับบทบาทของเพศ (sex) และ เพศสภาพ (gender) ต่อการใช้ยาเสพติดและการติดยาเสพติดจึงเรื่องที่สำคัญมาก สถาบันแห่งชาติเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติด (National Institute on Drug Abuse) ของสหรัฐอเมริกานิยาม “เพศ” ว่าหมายถึงความแตกต่างด้านชีววิทยา ส่วน “เพศสภาพ” นั้นหมายถึงความแตกต่างระหว่างหญิงกับชายที่นิยามโดยวัฒนธรรม

อ่านเพิ่มเติม

TDN “เครือข่ายผู้ใช้ยาฯ” เจ้าของปัญหากับหลักการทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

เครือข่ายผู้ใช้ยาประเทศไทย (Thailand Drug Users’ Network – TDN) เป็นการรวมตัวกันของผู้ใช้และอดีตผู้ใช้ยาเสพติด ดำเนินงานมาเป็นเวลา 20 กว่าปีแล้ว โดยแรงผลักดันในการทำงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด(Harm Reduction) ของเครือข่ายนั้นมีที่มาจากหลายชีวิตของเพื่อนที่ร่วงหล่นไปในช่วงการแพร่ระบาดสูงสุดของเอชไอวี เพราะเข้าไม่ถึงการรักษา

แม้ว่าการดำเนินงานจะมิได้เป็นไปในรูปแบบขององค์กรที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ แต่ TDN สามารถเข้าถึงเพื่อนผู้ใช้ยาได้อย่างต่อเนื่องและรับทุนสนับสนุนการทำงานจากกองทุนโลก ผ่านมูลนิธิรักษ์ไทย ซึ่งเป็นผู้รับทุนหลัก มาตั้งแต่แรกเริ่มในปี 2547 จนถึงปัจจุบันในโครงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด STAR 2564-2566 (STAR 3)

อ่านเพิ่มเติม

การใช้สารเสพติดในผู้สูงอายุ

ภาพจาก CUREatr

การใช้ยาเสพติดสารเสพติดรวมทั้งการใช้ยาแก้ปวดตามใบสั่งของแพทย์ในทางที่ผิดเป็นปัญหาที่พบมากในคนที่มีอายุไม่มาก แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้สูงอายุจะไม่ติดยาเสพติดหรือใช้ยาที่แพทย์สั่งไปในทางที่ผิดเลย ในสหรัฐอเมริกาการใช้ยาเสพติดในผู้สูงอายุเริ่มมีมากขึ้น และวงการแพทย์ไม่พร้อมที่จะตอบสนองปัญหานี้ ในนสพ. The New York Times ฉบับวันที่9 กรกฎาคม 2566 มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้โดย Paula Span

อ่านเพิ่มเติม

“ชวนเปิดมุมมองใหม่ยาเสพติดมีอะไร? ที่เชื้อชวนให้ผู้คนเข้า ไปสัมผัส”

คุณนอร์ท นันทพล ชื่นชูกลิ่น เจ้าหน้าที่ภาคสนามอาวุโส มูลนิธิรักษ์ไทย จ.สมุทรปราการ ได้บรรยายและพูดคุยในบรรยากาศสบายๆ ถึงประเด็นยาเสพติดให้อะไรกับผู้คน ซึ่งมีแง่มุมที่น่าสนใจและชวนให้ติดตามในช่อง Youtube “The Addict Channel” พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องยาเสพติดในแบบฉบับเข้าใจง่าย ภายใต้โครงการ ยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ด้วยชุดบริการ RRTTPR ในกลุ่มประชากรผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด (Stop TB and AIDs through RTTPR year 2021 – 2023 : STAR 2021-23) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก GFATM (The Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria)

อ่านเพิ่มเติม

แกนนำและชุมชนเข้มแข็ง คานเรือ จ. ปัตตานี

ชุมชนคานเรือแห่งหนึ่ง ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นชุมชนที่มีแรงงานสัญชาติเมียนมา อยู่กันเป็นครอบครัว ประมาณ 40 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ทำงานประมง ประมงต่อเนื่อง ผู้ชายออกเรือประมง ผู้หญิงทำงานโรงงาน ทำงานคัดเลือกปลา

ช่วงสถานการณ์การแพร่ะระบาดโควิด 19 ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดปัตตานี มีแรงงานข้ามชาติ เมียนมา กัมพูชา ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก จึงนับเป็นวิกฤติและต้องการการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน แกนนำแรงงานข้ามชาติ 46 คน จาก 22 ชุมชนในพื้นที่ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโควิด การป้องกันตนเอง การใช้ชีวิตวิถีใหม่ ความรุนแรงในครอบครัว สิทธิแรงงาน และการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

อ่านเพิ่มเติม

จิตอาสาและความทุ่มเท สร้างการเปลี่ยนแปลงได้

ภาพประกอบเรื่อง : Photo by STR / AFP

นายขิ่น (นามสมมติ) แรงงานชาวเมียนมาร์ อายุ 30 ปี สมรสแล้ว ไม่มีบุตร เดิมทำงานที่โรงงานยาง ใน อำเภอจะนะ จ.สงขลา และภรรยาทำงานที่โรงงานแปรรูปอาหารทะเล ในอำเภอเมืองสงขลา ระยะทางห่างกัน 30 กิโลเมตร ปกติจะสามารถไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด มีข้อจำกัดในการเดินทางข้ามพื้นที่ นายขิ่น (นามสมมติ) จึงต้องการย้ายไปทำงานที่เดียวกันภรรยา และได้แจ้งลาออก แต่นายจ้างเดิมไม่ยอมออกเอกสารรับรองการลาออก เนื่องจากไม่ต้องการให้นายขิ่น (นามสมมติ) ลาออก จึงไม่สามารถเดินทางออกจากพื้นที่อ.จะนะได้ จึงนำเรื่องมาแจ้งแกนนำหญิงในโครงการ Mars ชื่อ นางสาวยาดานา (นามสมมติ) ชาวเมียนมาร์ อายุ 29 ปี สถานะโสด ทำงานที่โรงงานแปรรูปอาหารทะเล ในอำเภอเมืองสงขลา ยาดานา (นามสมมติ) เป็นแกนนำที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ จึงมักเป็นตัวกลางในการประสานระหว่างแรงงานในกลุ่มอาชีพประมงกับนายจ้าง และหน่วยงานต่างๆ เสมอ เธอเป็นแกนนำที่มีจิตอาสาคอยช่วยเหลือเพื่อนแรงงานมาตลอด ยังรวมถึงเพื่อนแรงงานจากเครือข่ายอาชีพอื่นๆ ที่ติดต่อเข้ามาขอความช่วยเหลือด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ก้าวแรกคือจิตอาสา ก้าวถัดมาคือเสียสละ

ภูเก็ต

เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของแรงงานข้ามชาติที่มีปัญหาหลักอยู่ที่แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารรับรองแรงงาน เนื่องจากมีปัญหาการต่อทะเบียนเอกสารในช่วงสถานการณ์โควิด ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้สิทธิในการรับการฉีดวัคซีนผ่านนายจ้างได้ และเนื่องจากภูเก็ตมีนโยบายเข้มงวดในการบังคับให้แรงงานทุกคนต้องการได้รับฉีดวัคซีน ดังนั้นแรงงานที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจึงไม่สามารถคงอยู่ในตลาดการจ้างงานได้

อ่านเพิ่มเติม