แท็ก -โควิด 19

แกนนำและชุมชนเข้มแข็ง คานเรือ จ. ปัตตานี

ชุมชนคานเรือแห่งหนึ่ง ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นชุมชนที่มีแรงงานสัญชาติเมียนมา อยู่กันเป็นครอบครัว ประมาณ 40 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ทำงานประมง ประมงต่อเนื่อง ผู้ชายออกเรือประมง ผู้หญิงทำงานโรงงาน ทำงานคัดเลือกปลา

ช่วงสถานการณ์การแพร่ะระบาดโควิด 19 ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดปัตตานี มีแรงงานข้ามชาติ เมียนมา กัมพูชา ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก จึงนับเป็นวิกฤติและต้องการการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน แกนนำแรงงานข้ามชาติ 46 คน จาก 22 ชุมชนในพื้นที่ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโควิด การป้องกันตนเอง การใช้ชีวิตวิถีใหม่ ความรุนแรงในครอบครัว สิทธิแรงงาน และการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

อ่านเพิ่มเติม

จิตอาสาและความทุ่มเท สร้างการเปลี่ยนแปลงได้

ภาพประกอบเรื่อง : Photo by STR / AFP

นายขิ่น (นามสมมติ) แรงงานชาวเมียนมาร์ อายุ 30 ปี สมรสแล้ว ไม่มีบุตร เดิมทำงานที่โรงงานยาง ใน อำเภอจะนะ จ.สงขลา และภรรยาทำงานที่โรงงานแปรรูปอาหารทะเล ในอำเภอเมืองสงขลา ระยะทางห่างกัน 30 กิโลเมตร ปกติจะสามารถไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด มีข้อจำกัดในการเดินทางข้ามพื้นที่ นายขิ่น (นามสมมติ) จึงต้องการย้ายไปทำงานที่เดียวกันภรรยา และได้แจ้งลาออก แต่นายจ้างเดิมไม่ยอมออกเอกสารรับรองการลาออก เนื่องจากไม่ต้องการให้นายขิ่น (นามสมมติ) ลาออก จึงไม่สามารถเดินทางออกจากพื้นที่อ.จะนะได้ จึงนำเรื่องมาแจ้งแกนนำหญิงในโครงการ Mars ชื่อ นางสาวยาดานา (นามสมมติ) ชาวเมียนมาร์ อายุ 29 ปี สถานะโสด ทำงานที่โรงงานแปรรูปอาหารทะเล ในอำเภอเมืองสงขลา ยาดานา (นามสมมติ) เป็นแกนนำที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ จึงมักเป็นตัวกลางในการประสานระหว่างแรงงานในกลุ่มอาชีพประมงกับนายจ้าง และหน่วยงานต่างๆ เสมอ เธอเป็นแกนนำที่มีจิตอาสาคอยช่วยเหลือเพื่อนแรงงานมาตลอด ยังรวมถึงเพื่อนแรงงานจากเครือข่ายอาชีพอื่นๆ ที่ติดต่อเข้ามาขอความช่วยเหลือด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ก้าวแรกคือจิตอาสา ก้าวถัดมาคือเสียสละ

ภูเก็ต

เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของแรงงานข้ามชาติที่มีปัญหาหลักอยู่ที่แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารรับรองแรงงาน เนื่องจากมีปัญหาการต่อทะเบียนเอกสารในช่วงสถานการณ์โควิด ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้สิทธิในการรับการฉีดวัคซีนผ่านนายจ้างได้ และเนื่องจากภูเก็ตมีนโยบายเข้มงวดในการบังคับให้แรงงานทุกคนต้องการได้รับฉีดวัคซีน ดังนั้นแรงงานที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจึงไม่สามารถคงอยู่ในตลาดการจ้างงานได้

อ่านเพิ่มเติม

การร่วมมือของผู้ประกอบการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่จังหวัดปัตตานี

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในเขตอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจของจังหวัดมีทั้งแรงงานข้ามชาติจากเมียนมา และกัมพูชาในอาชีพประมง และต่อเนื่องประมงติดเชื้อจำนวน 170 คน ให้แรงงานบนเรือไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปยังคนบนฝั่งและในชุมชน สุดท้ายก็ไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคได้ เนื่องจากทำเลที่พักอาศัยของแรงงานมักอยู่รวมกันหลายครอบครัวในพื้นที่ที่จำกัด แรงงานที่อาศัยในชุมชนระแวกสะพานปลาหลายแห่งถูกกักตัว ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ ขาดแคลนรายได้และอาหาร รวมถึงไม่มีการตรวจคัดกรองจากหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่มีความยากลำบากมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

แรงงานร่วมใจ สู้ไปด้วยกัน กลุ่มช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จ.สุราษฎร์ธานี

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ครอบครัวนางน้อย (นามสมมติ) ทั้ง 5 คนประกอบไปด้วย นางน้อย สามี และลูกอีก 3 คน อายุ 2 ขวบ 4 ขวบและ 6 ขวบตามลำดับ ได้ย้ายจากจากจังหวัดกระบี่ มาอยู่ที่ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน โดยที่นางน้อยยังไม่มีงานทำแต่ป่วยเป็นวัณโรค และสามีก็ไม่มีงานทำ ในระหว่างที่มูลนิธิรักษ์ไทยกำลังส่งเรื่องเพื่อช่วยเหลือการรักษา แต่นางน้อยกลับเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเสียก่อน มูลนิธิรักษ์ไทยจึงช่วยให้สามีและเด็ก ๆ ตรวจหาโรค และกินยาป้องกันวัณโรค หลังจากได้พูดคุยกับครอบครัวเคสแล้ว จึงประสานงานเครือข่าย กลุ่มช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อช่วยระดมทุนค่าทำศพ ช่วยเหลือเด็ก และนำรายได้ส่วนที่เหลือให้ครอบครัวเพื่อส่งกลับประเทศต้นทาง และตั้งต้นชีวิตใหม่ โดยเคสนี้ระดมทุนได้มากกว่า 100,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม

ประสานมือ รวมใจที่ขนอม

ผู้หญิงแรงงานข้ามชาติทั้งเมียนมา กัมพูชา และลาวที่ทำอาชีพคัดปลาคัดกุ้งที่จังหวัดนครศรีธรรมราชกว่า 1,000 คนนั้น มีวิถีชีวิตที่อยู่ตามห้องพักแพปลาที่ไม่มีพื้นที่มากนัก พอเลิกงานก็กลับมานั่งรวมกลุ่มคุยกัน กินข้าวด้วยกัน ปกติรายได้จากการคัดปลาคัดกุ้งจะได้เป็นรายครั้ง ซึ่งทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย พอจะเป็นแค่ค่ากับข้าวเท่านั้น ส่วนเงินค่าเช่าห้อง (1,000-2,500 บาท ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ) หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในบ้านต้องรอสามีกลับจากเรือหรือเบิกเป็นงวดมาจ่าย

อ่านเพิ่มเติม

จากเงินช่วยเหลือ…… สู่ทะเลสวยงาม และช่วยต่อกำลังใจวิถีประมงพื้นบ้าน เกาะเต่า…..

ประมงพื้นบ้าน ตำบลเกาะเต่า ถือเป็นอาชีพดั้งเดิมคนเกาะควบคู่กับเกษตร มาช้านาน แต่ด้วยฐานทรัพยากรที่สมบูรณ์จึงส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำ เป็นที่รู้จักและกลายเป็นจุดเรียนดำน้ำระดับโลกในที่สุด อาชีพประมงพื้นบ้านจึงค่อยๆลดความสำคัญลง จำนวนเรือประมงพื้นบ้านจึงลดลงต่อเนื่อง ปัจจุบันเหลือเพียง 32 ลำ ที่ยังคงออกเรือประจำ แต่จากสาเหตุดังกล่าวก็มีความยากลำบากมากขึ้น เพราะพื้นที่รอบๆเกาะต้องสงวนไว้ให้กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ

อ่านเพิ่มเติม